0
TH
หน้าแรก
ใบสมัครเรียน
ขั้นตอนการสมัครเรียน
ระดับมัธยม
ระดับมหาวิทยาลัย
Summer camp
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
บริการของเรา
ทีมงานของเรา
ข่าวสารและกิจกรรม
รายละเอียดการชำระเงิน
Visa
แบบฟอร์มVisa
แบบประเมิน
เพิ่มเติม
0
หน้าแรก
ใบสมัครเรียน
ขั้นตอนการสมัครเรียน
ระดับมัธยม
ระดับมหาวิทยาลัย
Summer camp
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
บริการของเรา
ทีมงานของเรา
ข่าวสารและกิจกรรม
รายละเอียดการชำระเงิน
Visa
แบบฟอร์มVisa
แบบประเมิน
เพิ่มเติม
TH
0
Education India
ระบบการศึกษาของประเทศอินเดีย
อินเดีย
เป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่ดังนั้นการเปิดและปิดภาคเรียนจองแต่ละภาคจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแถบนั้นแต่โดยส่วนใหญ่จะเปิดรับในช่วงเดือนกุมภาพันธ์- กรกฎาคม หรือ เดือนตุลาคม- มกราคม ของทุกปี อินเดียเป็นประเทศที่มีการพัฒนาระบบการศึกษาเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
โดยระบบการศึกษาของประเทศอินเดียแบ่งเป็นระบบดังนี้
ระบบการเรียนของอินเดีย
โดยในประเทศอินเดียจะมีระบบการเรียนแบบอังกฤษ ซึ่งในระดับประถม – มัธยมจะแบ่งเป็น 2 ระบบคือ โรงเรียนระบบ CBSE และ ICSE โดยทั้งสองระบบนี้จะใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอนเท่านั้น และมีภาษาที่สองให้เลือกคือ เยอรมัน,ฝรั่งเศส,ญี่ปุ่นซึ่งความแตกต่างของ 2 ระบบ คือหนังสือเรียนจะไม่เหมือนกัน แต่เนื้อหาจะไปในทางเดียวกัน เนื่องจากทั้ง 2 ระบบ ขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการของอินเดียเหมือนกัน แต่ที่แบ่งเป็น 2 ระบบเนื่องจากอินเดียเป็นประเทศที่ใหญ่และมีประชากรมาก หากมีหน่วยงานที่ดูแลเพียงหน่วยงานเดียวจะไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง และประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีภูมิอากาศที่หลากหลาย ดังนั้นการปิดและเปิดเทอมของแต่ละโรงเรียนก็ไม่ตรงกันโดยในอดีตโรงเรียนจะขึ้นกับระบบ CBSE เป็นส่วนใหญ่และจะสอบปลายภาคตอนเดือนมีนาคม ต่อมีโรงเรียนที่เปิดขึ้นบนภูเขาและไปสอบปลายภาคในเดือนพฤจิกายน เพราะในเดือน ธันวาคม - กุมพาพันธุ์ หิมะตกจนไม่สามารถเปิดโรงเรียนได้ ทางรัฐบาลอินเดียจึงได้ตั้งระบบ ICSE ขึ้นมา เพื่อให้โรงเรียนที่สอบปลายเดือนพฤจิกายนมาจดทะเบียนขึ้นกับระบบนี้ แต่ปัจจุบันระบบที่มีโรงเรียนจดทะเบียนใช้มาที่สุดคือ CBSE โดยทั้ง 2 ระบบนี้ เมื่อเด็กเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ ป.1-6 จนจบก็จะได้รับอนุญาติให้เรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (Secondary School) คือมัธยมศึกษาปีที่ ม.1-4 หรือที่อินเดียเรียก Class 7 – Class 10 และในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (Class 10) เด็กจะต้องทำคะแนนให้ดีและเมื่อขึ้นระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.5-6 (class 11- class 12) เด็กจะต้องนำผลการสอบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มาวัดผลเมื่อเลือกสายวิชาที่จะเรียน หากได้คะแนน 65% - 80% ขึ้นไปจะเลือกได้ทั้งสายวิทยาศาสตร์ ,วิทย์-คณิต และสายศิลป์ หากได้คะแนน 40-64 % สามารถเลือกสายศิลป์ได้ หากเด็กจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (Class 10) จากประเทศไทยและต้องการศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 (Class 11) ทางโรงเรียนจะดูผลการศึกษาจากมัธยมศึกษาปีที่ 4 (Class 10) และพิจารณาว่าเด็กจะสามารถเข้าศึกษาต่อในสายวิชาใดได้บ้าง
โรงเรียนที่ขึ้นกับกองกรรมมาธิการศึกษาอินเดียทั้ง 2 ระบบนั้นได้รับการรับรองวิทยฐานะจากกระทรวงศึกษาธิการไทยทุกโรงเรียนเมื่อเรียนจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 (Class 12) จากอินเดียแล้วสามารถนำใบสุทธิ (Transcript) ไปขอเทียบวิทยฐานะได้ที่กรมวิชาการในกระทรวงศึกษาธิการ ทางกระทรวงศึกษาธิการจะเทียบเท่ามัธยมศึกษาปีที่ 6 ของประเทศไทยให้เลย และสามารถนำไปเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยทุกแห่งในประเทศไทยได้เลย และหากต้องการไปศึกษาต่อในประเทศอื่นเช่น อเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย ฯลฯ ก็สามารถนำไปเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีได้เลย หรือหากต้องการศึกษาในประเทศอินเดียก็สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีได้เช่นกัน และในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกนั้น ประเทศอินเดียมีมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยที่มีมาตรฐานระดับโลกมากมาย โดยแต่ละรัฐจะมีมหาวิทยาลัยประจำรัฐอยู่ทุกรัฐ และจะมีมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยต่างๆ ที่ขึ้นตรงกับมหาวิทยาลัยประจำรัฐอีกมากมาย และมหาวิทยาลัยประจำรัฐเหล่านี้ก็จะขึ้นกับทบวงมหาวิทยาลัยของอินเดียอีกที ระดับปริญญาตรีใช้เวลาศึกษา 3 ปี - 5 ปี แล้วแต่คณะที่เรียน และระดับปริญญาโทใช้เวลาศึกษา 2 ปี มหาวิทยาลัยเอกชนและมหาวิทยาลัยของรัฐมีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับมากพอๆ กัน และมหาวิทยาลัยจะมีโควต้าให้กับตัวแทนแทนของตนในประเทศต่างๆ เพื่อรับนักศึกษาต่างชาติเข้าเรียน ดังนั้นการสมัครผ่านตัวแทนที่มีโควต้าอยู่จะสะดวกมากเพราะจะได้รับการตอบรับทันที หากสมัครด้วยตนเองอาจต้องรอการตอบรับนาน 4-6 เดือน และโอกาสที่จะได้เข้าศึกษามีน้อยเพราะมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยต่างๆ มักจะรับนักศึกษาที่สมัครโดยใช้โควต้าของตัวแทนก่อน ประเทศอินเดียมีชื่อเสียงในการศึกษา คณะบริหารธุรกิจ, คอมพิวเตอร์, วิศวกรรมศาสตร์, สถาปัตยกรรม และแพทยศาสตร์ มากเป็นอันดับต้นๆ ของเอเชียและได้รับการรับรองวิทยฐานะโดยกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทยทั้งหมด
ระบบต่างประเทศที่อินเดียนำมาใช้
ประเทศอินเดียยังมีการนำระบบของอังกฤษและสวิสเซอร์แลนด์มาใช้อีกด้วย คือระะบบ IGCSE ซึ่งในระบบ IGCSE นั้นจะเริ่มสอนตั้งแต่ชั้น ม.3 หรือ Class 9 โดยเมื่อนักเรียนจบ ม.2 หรือ class 8 แล้วหากจะเรียนระบบ IGCSE หรือเรียกอีกอย่างว่า University Of Cambridge System นักเรียนจะต้องเลือกเรียน 5 วิชา และเมื่อสอบผ่านครบ 5 วิชา ( โดยปกติแล้วนักเรียนจะสอบผ่านได้ภายในใน 2 ปี )เมื่อผ่านแล้วจะได้ประกาศณียบัตร O LEVEL ซึ่งเมืองไทยเทียบเท่า ม.6 และสามารถนำกลับมาเข้ามหาวิทยาลัยในประเทศไทยได้เลย เช่น มหาวิทยาลัยมหิดลอินเตอร์, มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรภาคอินเตอร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ภาคอินเตอร์ ฯลฯ แต่ถ้าน้องๆประสงค์จะไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยในประเทศอื่นๆ น้องๆจะต้องเรียนต่ออีก 3 วิชา ซึ่งเมื่อสอบผ่านอีก 3 วิชาแล้วนั้นน้องๆจะได้ประกาศนียบัตร A LEVEL ซึ่งใช้เข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยได้เลย ระบบนี้น้องๆจะประหยัดเวลาได้ 2 ปีหากเมื่อจบ O LEVEL แล้วน้องๆกลับมาเรียนต่อมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
ระบบ Matriculation
ระบบนี้เป็นระบบเก่าแก่ที่ใช้เฉพาะในรัฐ Tamil Nadu โดยระบบนี้จัดการสอบโดยสำนักงานศึกษาของรัฐ Tamil Nadu เองโดยไม่ได้จัดการสอบทั่วประเทศแบบระบบ CBSE และ ICSE ดังนั้นการยอมรับจะต่างกัน แต่ทั้งสามระบบ CBSE, ICSE, Matriculation เมื่อจบเกรด 12 ก็สามารถนำกลับมาเทียบกับกระทรวงศึกษาไทยได้เลยโดยไม่ต้องสอบอะไรอีก
ระบบ Pre University
ระบบนี้จะใช้สำหรับน้องๆ ที่จบ ม.4 หรือ ม.5 จากเมืองไทยหรือที่ไหนก็ได้ในโลก ก็สามารถไปต่อได้ โดยจะเรียนที่ Bangalore University เมื่อจบ ม.4 จากเมืองไทยไปก็จะเรียน 2 ปี สามารถเข้ามหาวิทยาลัย Bangalore University หรือมหาวิทยาลัยอื่นของอินเดียได้เลย แต่ระบบนี้จะเหมาะกับนักเรียนที่จบ
Pre university และจะเข้ามหาวิทยาลัยในอินเดียเท่านั้น หากจะไปเรียน ม.5 - ม.6 แล้วกลับมาต่อมหาวิทยาลัยในประเทศไทยก็ให้เลือกเรียนระบบ CBSE, ICSE หรือ IGCSE จะดีกว่า
ช่วงเวลาที่เปิดรับสมัครนักเรียนและนักศึกษา
อินเดียเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่ดังนั้น การเปิดและปิดภาคเรียนจองแต่ละภาคจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแถบนั้นแต่โดยส่วนใหญ่จะเปิดรับในช่วงเดือนกุมภาพันธ์- กรกฎาคม หรือ เดือนตุลาคม- มกราคม ของทุกปี
Powered by
MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว
และ
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด